นางสาวฐาทินี ศรีจันทร์ 5411200370 เลขที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ดนตรีเพื่อผ่อนคลายหรือสร้างแรงจูงใจ









ดนตรีเพื่อผ่อนคลายหรือสร้างแรงจูงใจ

“ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก” ประโยคนี้เชื่อว่าคุณครูหลายท่านคงเคยได้ยินมาแล้ว เพียงแต่จะมีคุณครูท่านไหนที่รู้ถึงความสำคัญและเล็งเห็นประโยชน์ของดนตรีนี้ว่า สามารถช่วยกระตุ้นและพัฒนาสมองของเด็ก ๆ ให้พร้อมเปิดรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ

ดนตรีทุกประเภทที่เราได้ฟังนั้นจะมีส่วนช่วยทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงไปไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะดนตรีจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมองและร่างกาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปของไฟฟ้าเคมีผ่านเครือข่ายระบบประสาท หมายความว่า ดนตรีบางประเภทสามารถเตรียมสมองให้พร้อมสำหรับทำงานได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เพลงของโมสาร์ตมีผลต่อทางเดินไฟฟ้าเคมีในสมอง จึงช่วยให้สามารถทำงานประเภทที่ต้องคิดอย่างมีเหตุมีผลได้ดี

นอกจากนี้ดนตรียังทำให้ปริมาณสารความเครียดในสมองเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ด้วย อย่างเช่น เพลงบรรเลงที่เล่นด้วยจังหวะเคาะประมาณหกสิบครั้งต่อนาทีนั้นจะทำให้หัวใจเต้นช้าลง และช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมและรสนิยมการฟังดนตรีของแต่ละบุคคล

ดนตรีที่เอื้อต่อการเรียนรู้ คือ ดนตรีที่บรรเลงที่ช่วยให้นักเรียนผ่อนคลายในขณะที่จดจ่อกับเนื้อหาวิชาดนตรีประเภทนี้ไม่ได้ทำให้นักเรียนเกิดความบันเทิง แต่ช่วยบำรุงรักษาสมาธิในการเรียนและการทำงาน ดังนั้น ถ้าคุณครูพิถีพิถันกับการเลือกดนตรีก็จะได้รับผลที่น่าพึงพอใจ เพราะนักเรียนมีความพร้อมที่จะทำกิจกรรมและมีสมาธิมากยิ่งขึ้น เพลงไหนเล่นด้วยเครื่องดนตรีมากชิ้น จังหวะช้า และเคาะเป็นจังหวะสม่ำเสมอก็จะยิ่งมีประโยชน์มากขึ้น เสียงดนตรีที่เล่นคลอเนื้อเรื่องมีผลต่อการทำงานของร่างกาย ยิ่งจังหวะเร็วเท่าไร ร่างกายก็จะยิ่งตื่นตัวมากเท่านั้น ในทางกลับกัน ยิ่งจังหวะช้าลง ร่างกายก็จะยิ่งผ่อนคลาย ซึ่งจะช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการแยกแยะและกระบวนการจำในขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ในห้องเรียน เสียงดนตรีที่เหมาะกับการเต้นของหัวใจ (หนึ่งเคาะต่อวินาที) จะช่วยสร้างสภาวะ “ฝันกลางวัน” และทำให้ร่างกาย “ผ่อนคลาย” ส่วนดนตรีที่มีมากกว่าหนึ่งเสียงและมีจังหวะช้าจะช่วยให้สมองตื่นตัวและมีสมาธิในเวลาเดียวกัน ดนตรีที่แต่งเรียบเรียงเป็นอย่างดี สามารถกำหนดสภาวะร่างกายและสมองของนักเรียนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้


เรียบเรียงจาก คู่มือครูสำหรับเสริมสร้างสมองของเด็กวัยเรียน เขียนโดย คริสทีน วอร์ด สำนักพิมพ์ แฮปปี้ แฟมิลี่ บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น