วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2203)
วันที่ 3 สิงหาคม 2555
กลุ่มเรียน122 เวลา14.10-17.30น.
เนื้อหาที่เรียน
เทศกาลเข้าพรรษาก็กลับมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญต่อพระสงฆ์มากทีเดียว โดยเป็นช่วงเวลาที่พระสงฆ์ต้องจำพรรษาอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้
เพราะ "เข้าพรรษา" ที่แปลว่า "พักฝน" คือ วันที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเวลา 3 เดือน ตามพระธรรมวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่นซึ่งจะเรียกกันว่า "จำพรรษา" โดยคำว่า "จำ" แปลว่า "อยู่" ส่วนคำว่า "พรรษา" แปลว่า "ฤดูฝน" จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนมาสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งสามารถแบ่งการเข้าพรรษาได้เป็น 2 ประเภท
1. ปุริมพรรษา คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐิน ซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
2. ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกล หรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน
ส่วนสาเหตุของวันเข้าพรรษานั้นเกิดจาก ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์อยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ซึ่งการไม่หยุดพักแม้กระทั่งในฤดูฝน จึงทำให้เกิดเสียงติเตียนจากชาวบ้านว่าอาจจะไปเหยียบย่ำข้าวกล้าและพืชพันธุ์อื่นๆ ของชาวบ้านจนเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินเข้าได้ เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งพระสงฆ์ที่เข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในช่วงเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสาง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น "ขาดพรรษา"
แต่หากมีกรณีจำเป็นบางอย่าง พระภิกษุผู้จำพรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน ซึ่งจะเรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เช่นกรณีดังต่อไปนี้
1. เมื่อทายกหรือทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้
2. ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้
3. ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้
4. พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้
5. เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้
6. เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้ โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธาสามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้
7. เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
8. ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
9. หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกัน หรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้
อีกทั้งในวันเข้าพรรษานั้นถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ โดยจะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานในใจตนเองว่าตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า
อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ หรือว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ที่แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้หรือในวิหารนี้ โดยจะกล่าวทั้งหมด 3 ครั้ง
หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น วันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ
ซึ่งระหว่างที่ภิกษุจำพรรษานั้นตามพุทธานุญาตให้สิ่งของที่ประจำตัวได้มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้นกว่าที่พระสงฆ์จะหาที่พักแรมได้ บางครั้งก็ถูกฝนเปียกปอน ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวาย "ผ้าจำนำพรรษา" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ผ้าอาบน้ำฝน" เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยน และยังถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันเป็นพิเศษในช่วงเข้าพรรษา จนเป็นประเพณีทำบุญที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
โดยการเข้าพรรษานั้นมีประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ก็เป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา
4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา
แม้ว่าการเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่สำหรับพุทธศาสนิกชนนั้นก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส โดยในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวันพุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องใช้อย่าง สบู่ ยาสีฟัน มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ หรือมีการช่วยพระทำความสะอาด, ซ่อมแซม กุฏิหรือวิหาร เมื่อถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาศีลกันที่วัด ไม่ว่าจะเป็นศีลห้าหรือศีลแปดก็ตาม โดยบางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เช่น งดสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น
กิจกรรมที่ขาดไม่ได้ก็คงจะเป็นประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ฤดูเข้าพรรษาของทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้เป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด 3 เดือน โดยพระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าและเย็น จึงจะต้องมีการใช้ธูป เทียน เพื่อจุดบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาให้พระภิกษุ อีกทั้งยังเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าเป็นการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาทำให้หูตาสว่าง
ตามชนบทนั้นการหล่อเทียนเข้าพรรษาจะทำกันเอิกเกริกและเป็นที่สนุกสนาน เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็จะมีการแห่รอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดตกแต่งเทียนพรรษาหรือการแห่รอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม
ซึ่งหากใครยังไม่เคยเข้าวัดไปทำกิจกรรมในวันเข้าพรรษา เราขอแนะนำให้ไปลองดู เพราะนอกจากจะได้ทำบุญแล้ว ยังจะช่วยชำระล้างจิตใจของคุณให้ปลอดโปร่ง เพื่อพร้อมผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาได้อีกด้วย
เพราะ "เข้าพรรษา" ที่แปลว่า "พักฝน" คือ วันที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเวลา 3 เดือน ตามพระธรรมวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่นซึ่งจะเรียกกันว่า "จำพรรษา" โดยคำว่า "จำ" แปลว่า "อยู่" ส่วนคำว่า "พรรษา" แปลว่า "ฤดูฝน" จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนมาสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งสามารถแบ่งการเข้าพรรษาได้เป็น 2 ประเภท
1. ปุริมพรรษา คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐิน ซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
2. ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกล หรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน
ส่วนสาเหตุของวันเข้าพรรษานั้นเกิดจาก ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์อยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ซึ่งการไม่หยุดพักแม้กระทั่งในฤดูฝน จึงทำให้เกิดเสียงติเตียนจากชาวบ้านว่าอาจจะไปเหยียบย่ำข้าวกล้าและพืชพันธุ์อื่นๆ ของชาวบ้านจนเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินเข้าได้ เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งพระสงฆ์ที่เข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในช่วงเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสาง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น "ขาดพรรษา"
แต่หากมีกรณีจำเป็นบางอย่าง พระภิกษุผู้จำพรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน ซึ่งจะเรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เช่นกรณีดังต่อไปนี้
1. เมื่อทายกหรือทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้
2. ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้
3. ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้
4. พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้
5. เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้
6. เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้ โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธาสามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้
7. เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
8. ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
9. หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกัน หรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้
อีกทั้งในวันเข้าพรรษานั้นถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ โดยจะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานในใจตนเองว่าตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า
อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ หรือว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ที่แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้หรือในวิหารนี้ โดยจะกล่าวทั้งหมด 3 ครั้ง
หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น วันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ
ซึ่งระหว่างที่ภิกษุจำพรรษานั้นตามพุทธานุญาตให้สิ่งของที่ประจำตัวได้มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้นกว่าที่พระสงฆ์จะหาที่พักแรมได้ บางครั้งก็ถูกฝนเปียกปอน ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวาย "ผ้าจำนำพรรษา" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ผ้าอาบน้ำฝน" เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยน และยังถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันเป็นพิเศษในช่วงเข้าพรรษา จนเป็นประเพณีทำบุญที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
โดยการเข้าพรรษานั้นมีประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ก็เป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา
4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา
แม้ว่าการเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่สำหรับพุทธศาสนิกชนนั้นก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส โดยในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวันพุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องใช้อย่าง สบู่ ยาสีฟัน มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ หรือมีการช่วยพระทำความสะอาด, ซ่อมแซม กุฏิหรือวิหาร เมื่อถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาศีลกันที่วัด ไม่ว่าจะเป็นศีลห้าหรือศีลแปดก็ตาม โดยบางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เช่น งดสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น
กิจกรรมที่ขาดไม่ได้ก็คงจะเป็นประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ฤดูเข้าพรรษาของทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้เป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด 3 เดือน โดยพระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าและเย็น จึงจะต้องมีการใช้ธูป เทียน เพื่อจุดบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาให้พระภิกษุ อีกทั้งยังเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าเป็นการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาทำให้หูตาสว่าง
ตามชนบทนั้นการหล่อเทียนเข้าพรรษาจะทำกันเอิกเกริกและเป็นที่สนุกสนาน เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็จะมีการแห่รอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดตกแต่งเทียนพรรษาหรือการแห่รอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม
ซึ่งหากใครยังไม่เคยเข้าวัดไปทำกิจกรรมในวันเข้าพรรษา เราขอแนะนำให้ไปลองดู เพราะนอกจากจะได้ทำบุญแล้ว ยังจะช่วยชำระล้างจิตใจของคุณให้ปลอดโปร่ง เพื่อพร้อมผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาได้อีกด้วย
ที่มา : http://www.learners.in.th/blogs/posts/174791
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น