นางสาวฐาทินี ศรีจันทร์ 5411200370 เลขที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

นิทาน


ตัวอย่างนิทานสำหรับเด็ก


นิทานเรื่องแจ๊คกับต้นถั่ววิเศษ

นิทานเรื่องหญิงชรากับหมาป่า

นิทานเรื่องนายพรานกับชาวประมง

นิทานเรื่องหนูกับกบ

นิทานเรื่องเทวดากับคนตัดฟืน

นิทานเรื่องพระอาทิตย์และพายุ

นิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า

นิทานเรื่องลูกเป็ดขี้เหร่

นิทานเรื่องหญิงชรากับแม่ไก่

นิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ

นิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดง




นิทานคือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้เด็กฟังจึงมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน

นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่าความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่เด็กด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น เด็กก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อเด็กและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล เด็กจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจ ให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน

ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทานจากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป

เด็กอายุ 0 - 1 ปี
นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และ เขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติกหนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้

เวลาเด็กดูหนังสือภาพพ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย

เด็กอายุ 2 - 3 ปี
เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษาและเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก

เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้นหากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่านของเด็กในอนาคต

เด็กอายุ 4 - 5 ปี
เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่ายส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟังพร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ







นิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ


เนื้อเรื่อง

ครั้งหนึ่ง มีเด็กเลี้ยงแกะซึ่งอายุยังน้อยผู้หนึ่ง ทำการดูแลฝูงแกะของเขาอย่างหงอยเหงาอยู่ที่ไม่ไกลไปจากหมู่บ้านของเขาสักเท่าไหร่ เขาสร้างความสนุกสนานแก้เบื่อให้กับตัวของเขาเองด้วยการ วิ่งไปและร้องว่า "หมาป่า!หมาป่า!"
แผนการณ์การเล่นตลกของเขาอันนี้ดำเนินไปอย่างสวยงาม ถึงสอง-สามครั้ง และในทุกๆครั้งเขาก็สามารถทำให้ชาวบ้านทั้งหมดวิ่งหน้าตื่นมา เพื่อช่วยเหลือเขาได้ในทุกครั้ง...
อย่างไรก็ตาม พวกชาวบ้านที่วิ่งมาหมายจะช่วย เขาด้วยความจริงใจกลับต้องได้รับรางวัลเป็นเสียงหัวเราะจากเขาอย่างเดียวเท่านั้น แล้ววันหนึ่งหมาป่าก็มาจริง ๆ เขาร้องตะโกนอย่างเอาจริงเอาจัง "หมาป่า!หมาป่า!" แต่คราวนี้พวกชาวบ้าน ซึ่งถูกเขาหลอก มาหลายครั้งหลายหน ต่างก็คิดว่า เขานั้นกำลังหลอกลวงพวกตนอีกตามเคย ดังนั้นจึงไม่มีใครสักคนโผล่หัวออกมาช่วยเหลือเขา และด้วยเหตุดังนี้หมาป่า จึงได้กินอาหารอร่อยของมันคือฝูงแกะของเด็กคนนั้นอย่างสบายๆ


นิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะสอนให้เด็กรู้ว่่าจะไม่มีใครเชื่อคนชอบโกหก แม้เมื่อเขาได้พูดความจริงก็ตาม



การที่เด็กได้อ่านหนังสือนิทานจะช่วยให้เด็กได้พัฒนาภาษา  ฝึกการอ่านให้แก่เด็ก  โดยในหนังสือนิทานบางเล่มจะมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่ในเล่มเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้พัฒนาภาษาอื่นไปด้วย  การเรียนรู้จากหนังสือนิทานนั้นเป็นการเรียนรู้ของเด็กที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายและเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กทำให้หนังสือนิทานเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี   ส่วนการดูนิทานจากวีดีโอนั้นก็เป็นส่วนช่วยให้เด็กได้เรียนรู้คำต่างๆที่ได้ยินจากการฟังในนิทาน  เด็กจะได้จดจำคำแล้วนำมาใช้ได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่พัฒนาภาษาของเด็กได้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น