วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2203)
วันที่ 13 กรกฎาคม 2555
กลุ่มเรียน122 เวลา14.10-17.30น.
*****แต่ละกลุ่มนำเสนองานในรูปแบบVDO*****
กลุ่มข้าพเจ้านำเสนอพัฒนาการทางภาษาของเด็กวัย 3 ปี
พัฒนาการทางภาษาของเด็กวัย 3 ปี
บรรยายกาศในการเรียน
- เพื่อนๆสนใจดูเพื่อนๆแต่ละกลุ่มที่ออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน
การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
-อาจารย์ได้แนะนำวิธีการออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน ซึ่งสามารถนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้ในวิชาต่างๆในการออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม
การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
-อาจารย์ได้แนะนำวิธีการออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน ซึ่งสามารถนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้ในวิชาต่างๆในการออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม
เพิ่มเติม
พัฒนาการทางภาษา
* อายุ 3-4 ปี
เด็กส่วนมากจะสามารถพูดเป็นประโยคยาวๆ และค่อยๆ เล่าเรื่องอย่างเป็นเรื่องเป็นราวได้ที่อายุประมาณ 4 ปี หากเด็กได้รับการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถใช้ภาษาพูดสื่อสารได้เป็นอย่างดี เพื่อเป็นเตรียมความพร้อมต่อการพัฒนาทักษะด้านการอ่าน เด็กควรได้คุ้นเคยกับคำพ้องเสียง คำคล้องจอง โดยผ่านการฟังบทอาขยานสั้นๆ ง่ายๆ จากคุณพ่อคุณแม่ เพราะการฟังคำคล้องจองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้พื้นฐานของระบบเสียงที่เกี่ยว ข้องกับการอ่านได้ง่ายขึ้น ทักษะพื้นฐานอื่นๆทางภาษาที่เกี่ยวข้องกับสติปัญญา จะรวมถึงความเข้าใจเรื่องของลำดับก่อนหลัง สิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น ได้แก่ สี ขนาด จำนวน แม้สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเรียนรู้ผ่านการท่องจำได้ แต่ถ้าขาดความเข้าใจพื้นฐานสำคัญ เด็กจะเรียนรู้ต่อเนื่องด้วยตนเองได้ยากลำบาก เช่น แม้เด็กจะท่องจำสีได้หลายสี แต่เมื่อเห็นสีอื่นซึ่งไม่เคยเห็นแต่มีลักษณะใกล้เคียงกับสีเดิม (เขียวอ่อนกับเขียวแก่) เด็กที่มีความเข้าใจอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก จะสามารถเชื่อมโยงและบอกได้ถูกต้องมากกว่า
เด็กวัยนี้มักมีข้อสงสัยและคำถามมากมาย คุณพ่อคุณแม่ควรตอบคำถามของลูกอย่างง่ายๆ สั้นๆ หรือหาสื่อ หาภาพมาประกอบคำอธิบาย จะกระตุ้นให้เขาใฝ่รู้และค้นคว้าเพิ่มเติม
* อายุ 5-6 ปี
เด็กจะเริ่มเรียนรู้ทักษะทางภาษาอื่นๆ นอกจากภาษาพูด ได้แก่ ภาษาอ่าน ภาษาเขียน การสอนให้เด็กๆ พัฒนาทักษะเหล่านี้ ไม่ควรเน้นที่การอ่านแบบท่องจำหรือเขียนให้ถูกต้องสวยงาม ควรใช้วิธีการสอนที่เชื่อมโยงจากความเข้าใจเป็นพื้นฐาน เด็กที่มีทักษะด้านความจำหรือพูดโต้ตอบได้อย่างดี อาจใช้วิธีจำสัญลักษณ์หรือตัวหนังสือที่เขียนเป็นคำๆ แต่เด็กควรได้เรียนรู้เรื่องพื้นฐานระบบเสียงที่เชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ ซึ่งหมายถึงการสะกดคำอย่างง่ายๆ
ทักษะพื้นฐานที่สำคัญทางภาษาเพื่อการเรียนรู้อีกเรื่องหนึ่ง คือ จำนวนหรือตัวเลข แม้คณิตศาสตร์จะแตกต่างจากภาษาศาสตร์ แต่การเรียนรู้เรื่องต่างๆ ของเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องใช้ภาษาพูดเป็นสื่อกลาง คุณพ่อคุณแม่ควรเข้าใจก่อนว่า พื้นฐานความเข้าใจในเรื่องของจำนวนหรือตัวเลขมีความสำคัญอย่างยิ่ง เด็กจำนวนมากอาจท่องจำ 1-10 หรือ 1-50 ได้ โดยขาดความเข้าใจในเรื่องการเรียงลำดับ การเพิ่มจำนวน หรือจำนวนพื้นฐาน จริงๆ แล้ว เด็กควรเรียนรู้หลักการของจำนวน 1-10 หรือ 20 ได้ก่อนที่จะหัดบวกลบเลขจากโจทย์
ดังนั้น ในชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกเข้าใจจำนวนจากสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น ขนม 1 ชิ้น นก 2 ตัว สอนการเพิ่มหรือการลดจำนวนจากภาษาที่ใช้ เช่น "ได้เพิ่มมาอีก" "บินหายไป" เป็นต้น เมื่อเด็กมีความเข้าใจพื้นฐานสิ่งเหล่านี้ได้ถูกต้องแม่นยำแล้ว การเชื่อมโยงไปสู่ความหมายของสัญลักษณ์ และการเรียนรู้คณิตศาสตร์ขั้นต่อไปจะเกิดได้อย่างถูกต้อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น