นางสาวฐาทินี ศรีจันทร์ 5411200370 เลขที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ เอกการศึกษาปฐมวัย

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่16


วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2203)

วันที่  28 กันยายน  2555

กลุ่มเรียน122    เวลา14.10-17.30น.

เนื้อหาที่เรียน

   - อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนวิเคราะห์แท็บเล็ตว่ามีข้อดี-ข้อจำกัดและเหมาะสมกับเด็ก ป.1 หรือไม่? ให้เวลา20นาที




โดยมีหลักในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งทำให้สามารถนำไปใช้ได้ในการทำงานต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  

       


บรรยากาศในการเรียน

-เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่ง


การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้

-สามารถนำความรู้ในด้านของการคิดวิเคราะห์ไปพัฒนาตนเองได้

***หมายเหตุ***  สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2203)


เพิ่มเติม






แจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ลดหรือเพิ่มปัญหาสังคม..!! /สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน



บรรดานักวิชาการและผู้ที่อยู่ในแวดวงคนทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กต่างก็กังวลใจในเรื่องนี้ด้วยเช่นกันเพราะตั้งแต่ที่รู้ว่ามีนโยบายแจกแท็บเล็ตให้กับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก็เชื่อว่า ปัญหาจะค่อยๆ ผุดออกมาเรื่อยๆ เมื่อเด็กวัยนี้ได้รับและนำไปใช้แล้ว
งานเสวนาในวันนั้นมีวิทยากร 4 คน ได้แก่ แพทย์หญิง จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและพัฒนาการเด็ก นายกสมาคมนักวิจัยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว, รองศาสตราจารย์นายแพทย์ อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก,นายวรพัฒน์ ทิวถนอม รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคุณอรุณี อัศวภาณุกุล ตัวแทนผู้ปกครองเด็กที่ได้รับแท็บเล็ต

เนื้อหาในวันนั้นน่าสนใจทีเดียว อยากจะนำมาแบ่งปันให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับข้อมูลความรู้ โดยที่จะแบ่งเป็น 2 ตอน ในตอนแรกขอเน้นเรื่องที่คุณหมอจันทร์เพ็ญ นำเรื่องสมองของมนุษย์มาเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีได้อย่างเห็นภาพ และน่าจะเกิดประโยชน์อย่างมากสำหรับพ่อแม่ที่มีลูกเล็ก

คุณหมอเริ่มจากประโยคที่ว่า สมองของมนุษย์มีชีวิต ขณะที่เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมืออุปกรณ์ เมื่อใดที่เราพึ่งพาเทคโนโลยีมากเท่าไร การทำงานของสมองก็จะลดลง ยกตัวอย่างง่ายๆ เรื่องการจำจดเบอร์โทรศัพท์ จากเมื่อก่อนคนเราสามารถจดจำเบอร์โทรศัพท์ต่างๆ ได้มากมาย ปัจจุบันเราให้โทรศัพท์ทำหน้าที่นี้แทน ทำให้สมองของเราไม่สามารถจำเบอร์โทรศัพท์ต่างๆ ได้

ยิ่งคนเราพึ่งพาเทคโนโลยีเพื่อความสะดวกสบายมากเท่าไร...เทคโนโลยีจะทำให้คนเราสูญเสียความสามารถของสมองมากเท่านั้น

คุณหมอเล่าถึงเรื่องการทำงานของสมองมี 3 ส่วน

หนึ่ง สมองสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งเป็นสมองส่วนล่างมีหน้าที่ทำตามสัญชาติญาณ หากินเพื่อการอยู่รอด สัตว์บางประเภทคลอดลูกออกมาก็ทิ้งลูก เป็นการเอาตัวรอด ทำอย่างไรชีวิตถึงจะอยู่รอดได้

สอง สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ นอกจากการมีชีวิตอยู่รอด ก็ต้องการอยู่รวมกันเป็นสังคม รักพวกพ้อง

สาม สมองมนุษย์ คือ มีสมองส่วนบน สามารถคิดสิ่งใหม่ สมองส่วนนี้ไม่มีในสัตว์ เป็นการคิดแบบมีเหตุผล และเป็นสมองส่วนที่ทำให้เด็กมีความเป็นมนุษย์มากที่สุด

“ที่ผ่านมา ต้องถามว่า คนเราใช้สมองส่วนไหนเป็นหลัก สัตว์หากินเพื่อชีวิตอยู่รอด คนเราก็ไปซุปเปอร์มาร์เก็ต เราเลือกซื้อของกิน สมองส่วนล่างทำงาน แต่เราได้พัฒนาสมองส่วนบนมากน้อยแค่ไหน”

การพัฒนาสมองต้องมีการเรียนรู้ ต้องมีลำดับขั้นตอน

คุณหมอถามว่า พ่อแม่สอนให้ลูกใช้มีดเมื่ออายุเท่าไร เราสอนให้เด็กรู้จักมีดว่ารูปร่างมันเป็นแบบนี้นะ แต่เรายังไม่ให้เด็กใช้มีด เพราะมันเป็นของมีคม อันตราย เราต้องสอนว่าต้องจับมีดอย่างไร ใช้อย่างไร ทำให้ดู ทำให้เห็นจริง เราคงไม่ปล่อยให้เด็กใช้มีดตั้งแต่เล็กใช่ไหม เช่นเดียวกับการก้าวขึ้นบันได ต้องก้าวทีละขั้น ไม่ใช่ก้าวทีละสี่ขั้น ก็มีโอกาสพลัดตกได้

เช่นเดียวกัน คนเราต้องมีขั้นตอนของการพัฒนาตามวัย เหมือนการสร้างบ้านต้องมีเสาเข็ม แท็บเล็ตเหมือนหลังคา เราต้องสร้างรากฐานที่ดีมั่นคงซะก่อนจากนั้นค่อยๆ สร้างบ้าน ทีละสเต็ป ลงเสาเข็มให้แน่น โรงเรียนก็มีส่วนสำคัญ เป็นผู้สร้างผนัง ฝาบ้าน เมื่อไรถึงใส่หน้าต่าง ใส่ประตู

แล้วเทคโนโลยีต้องเป็นขั้นสุดท้าย

ก่อนหน้านี้ มีงานวิจัยเกี่ยวกับสมองของเด็กไทย พบว่า เด็กไทยมีความสามารถในการเรียนรู้น้อยลง IQ ต่ำลงเรื่อยๆ จากครั้งแรกที่ทำการสำรวจ IQ เฉลี่ยอยู่ที่ 92 อีก 5 ปีต่อมา สำรวจอีกครั้ง เหลือ 89 และตัวเลขล่าสุด คือ 87เป็นตัวเลขที่น่าตกใจมาก เด็กไทยไอคิวลดลงต่ำลงเรื่อยๆ ทั้งที่หากวัดไอคิวเด็กแรกเกิดของไทยไม่แพ้ชาติใดในโลกเลย มีไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 130 กว่าๆ ซึ่งสูงกว่าบางประเทศเสียอีก

คำถามคือทำไมเด็กไทยยิ่งโต ยิ่งไอคิวต่ำลง เพราะอะไร ?

การเรียนรู้ และพัฒนาการตามวัยของเด็กมาถูกทางหรือไม่...

เด็กปฐมวัย ควรเรียนรู้ทุกอย่างจากของจริง ให้เขาได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 6 ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดี สมองถึงจะพัฒนาอย่างมีศักยภาพ รวมไปถึงควรสอนให้เขาช่วยเหลือตัวเองให้ได้ ไม่ใช่ไปพึ่งพิ่งกับเทคโนโลยี

“ในช่วง 2 ขวบปีแรกของชีวิต ไม่ควรดูทีวีเลย แต่หมออยากบอกว่าไม่อยากให้ดูในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เพราะสมองของเด็กยังไม่สามารถแยกแยะเรื่องจริง กับเรื่องในทีวีได้ แล้วในทีวีก็ มีแค่ 2 สัมผัส คือ เสียง และภาพ เท่านั้น จึงไม่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดีให้เด็กๆ ได้ พ่อแม่บางคนชอบให้ลูกดูสารคดีตั้งแต่ลูกเล็ก ๆ ประเภทรายการสารคดีดังๆ แล้วมองว่ามันดี มีประโยชน์กับเด็ก เช่น สัตว์ออกลูกมาเป็นไข่ ตัดภาพมาให้เห็น สักพักก็จะกลายเป็นตัว แล้วตัดภาพมาว่าสักพักก็เติบโต พัฒนาการต่าง ๆ เหล่านี้ เด็กเห็นก็จะไม่เข้าใจ อาจเข้าใจผิดว่า มันสามารถเกิดขึ้นได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนในทีวี”

ปัจจุบันเด็กไทยมีปัญหาเรื่องการใช้สมองเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีทุกชนิดไม่เหมาะกับเด็กปฐมวัย

ผู้ใหญ่ควรสอนเด็กให้มีความเป็นมนุษย์ให้มากที่สุด เทคโนโลยีเป็นแค่เครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เราควรเลือกใช้ว่า เมื่อไหร่ควรใช้ เมื่อไหร่ควรสอน การสอนให้เด็กเรียนรู้ต้องสอนแบบเป็นขั้นตอน เริ่มจาก 1 ก่อน แล้วต่อเป็น 2 3 4 ไม่ใช่กระโดดข้ามขั้น

และอีกเรื่องหนึ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างมากก็คือ เทคโนโลยีปีประเภท Virtual Reality ที่มาแรงมาก ในขณะที่เด็กเล็กยังแยกแยะไม่ได้ ที่ผ่านมาเรามุ่งแต่ให้อยากเด็กมีความเสมอภาคกัน แต่อยากจะบอกว่าเด็กก็เสียสิทธิในการพัฒนาสมองด้วยเหมือนกัน

ท้ายสุดคุณหมอกล่าวว่า ไม่ได้คัดค้านการแจกแท็บเล็ต เพราะคุณหมอก็ใช้ และที่ให้ข้อมูลมาทั้งหมดก็คงไม่มีคำตอบว่าการแจกแท็บเล็ตเด็ก ป.1 ลดหรือเพิ่มปัญหาสังคม อยากทิ้งเอาไว้ให้ผู้ใหญ่ใช้สมองในการตอบคำถามเอง


ที่มา : http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000111248




วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15


วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2203)

วันที่  21 กันยายน  2555

กลุ่มเรียน122    เวลา14.10-17.30น.

เนื้อหาที่เรียน
-อาจารย์ได้ตรวจความเรียบร้อยของบล็อกและพูดถึงหลักการว่าประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ ซึ่งต้องกำหนดก่อนเป็นอันดับแรกว่าต้องการทำอะไร เพื่ออะไร ก่อนจะไปขั้นวิเคราะห์  ข้อดี-ข้อเสียและการไปใช้ในชีวิตประจำวัน




ความสำคัญของการคิด 
ความสำคัญของการคิด ดิวอี้ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับการคิดว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าเพราะการคิดช่วยให้คนได้ มองเห็นภาพปัญหาต่าง ๆ ในอนาคตซึ่งจะช่วยให้บุคคลได้คิดหาแนวทางในการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้และ การคิดช่วยขยายความหมายของสิ่งต่างๆ ในโลกได้ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการคิดคือ คนจะมีการปฏิบัติหรือการกระทำตามที่เขาคิดถึงแม้ว่ามันจะถูกหรือผิดก็ตาม เนื่องจากการคิดมีพลังอำนาจ จึงต้องการการควบคุมโดยได้แนะนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการช่วยรักษาความคิด ให้เป็นไปอย่างถูกต้องโดยมีการควบคุมเงื่อนไขภายใต้การสังเกต และการสรุปความคิดตามสิ่งที่เกิดขึ้นและได้มีการทบทวนแนวคิดโดยกล่าวว่า สิ่งที่บุคคลรู้จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดครั้งแรกแล้วจึงนำ ไปสู่การคิดในสิ่งอื่นๆซึ่งก่อให้เกิดความสมบูรณ์ของกระบวนการคิดนั้น เนื่องจากการคิดมีอิทธิพลอย่างมากจากกิเลสที่อยู่ภายในตัวบุคคล และสังคม

บรรยายกาศในการเรียน  

-เพื่อนๆมาเรียนน้อย  เนื่องจากฝนตก  อากาศในห้องค่อนข้างหนาว

การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้

-ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นในการทำงาน  เพื่อนำไปปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น



วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

เพลงเด็ก


ตัวอย่างเพลงเด็ก

เพลง 7วัน 7 สี

เพลงกำมือขึ้นแล้วหมุนหมุน

เพลงการ์ตูนเพลง A-Z สำหรับเด็กอนุบาล

เพลงสนุกกับตัวเลข

เพลงพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง

เพลง ก.เอ๋ย ก.ไก่

เพลงฉันคือเมฆ


เพลงเด็ก  เป็นเพลงที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาทักษะทางภาษาได้เพราะเด็กจะได้เรียนรู้เรื่องคำต่างๆ  เช่น  เพลง 7 วัน 7 สี จะช่วยสอนให้เด็กรู้จักวันทั้ง7วันและได้เรียนรู้สีของทั้ง7วัน  อีกทั้งเพลงยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี








วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14


วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2203)

วันที่ 14 กันยายน  2555

กลุ่มเรียน122    เวลา14.10-17.30น.

เนื้อหาที่เรียน


-อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอนิทาน   ซึ่งมีดังต่อไปนี้






กลุ่มข้าพเจ้าเล่านิทาน เรื่องเจ้าแสนซน(เล่าไปพับไป)







บรรยากาศในการเรียน

-เพื่อนๆตั้งใจฟังเพื่อนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน ซึ่งอาจารย์ให้นักศึกษาถ่ายวีดีโอเก็บไว้ทำให้เพื่อนๆในห้องเงียบฟังเพื่อนนำเสนอนิทาน


การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้

-ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเล่านิทานด้วยเทคนิคต่างๆจากเพื่อนแต่ละกลุ่มที่ออกมาเล่า สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปฝึกฝนพัฒนาตนเองได้




นิทานเล่าไปพับไป

เรื่องเจ้าแสนซน












วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

นิทาน


ตัวอย่างนิทานสำหรับเด็ก


นิทานเรื่องแจ๊คกับต้นถั่ววิเศษ

นิทานเรื่องหญิงชรากับหมาป่า

นิทานเรื่องนายพรานกับชาวประมง

นิทานเรื่องหนูกับกบ

นิทานเรื่องเทวดากับคนตัดฟืน

นิทานเรื่องพระอาทิตย์และพายุ

นิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า

นิทานเรื่องลูกเป็ดขี้เหร่

นิทานเรื่องหญิงชรากับแม่ไก่

นิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ

นิทานเรื่องหนูน้อยหมวกแดง




นิทานคือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้เด็กฟังจึงมีความสำคัญมากต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน

นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่าความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่เด็กด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น เด็กก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อเด็กและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล เด็กจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจ ให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน

ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทานจากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป

เด็กอายุ 0 - 1 ปี
นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และ เขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติกหนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้

เวลาเด็กดูหนังสือภาพพ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย

เด็กอายุ 2 - 3 ปี
เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษาและเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก

เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้นหากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่านของเด็กในอนาคต

เด็กอายุ 4 - 5 ปี
เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่ายส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟังพร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ







นิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ


เนื้อเรื่อง

ครั้งหนึ่ง มีเด็กเลี้ยงแกะซึ่งอายุยังน้อยผู้หนึ่ง ทำการดูแลฝูงแกะของเขาอย่างหงอยเหงาอยู่ที่ไม่ไกลไปจากหมู่บ้านของเขาสักเท่าไหร่ เขาสร้างความสนุกสนานแก้เบื่อให้กับตัวของเขาเองด้วยการ วิ่งไปและร้องว่า "หมาป่า!หมาป่า!"
แผนการณ์การเล่นตลกของเขาอันนี้ดำเนินไปอย่างสวยงาม ถึงสอง-สามครั้ง และในทุกๆครั้งเขาก็สามารถทำให้ชาวบ้านทั้งหมดวิ่งหน้าตื่นมา เพื่อช่วยเหลือเขาได้ในทุกครั้ง...
อย่างไรก็ตาม พวกชาวบ้านที่วิ่งมาหมายจะช่วย เขาด้วยความจริงใจกลับต้องได้รับรางวัลเป็นเสียงหัวเราะจากเขาอย่างเดียวเท่านั้น แล้ววันหนึ่งหมาป่าก็มาจริง ๆ เขาร้องตะโกนอย่างเอาจริงเอาจัง "หมาป่า!หมาป่า!" แต่คราวนี้พวกชาวบ้าน ซึ่งถูกเขาหลอก มาหลายครั้งหลายหน ต่างก็คิดว่า เขานั้นกำลังหลอกลวงพวกตนอีกตามเคย ดังนั้นจึงไม่มีใครสักคนโผล่หัวออกมาช่วยเหลือเขา และด้วยเหตุดังนี้หมาป่า จึงได้กินอาหารอร่อยของมันคือฝูงแกะของเด็กคนนั้นอย่างสบายๆ


นิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะสอนให้เด็กรู้ว่่าจะไม่มีใครเชื่อคนชอบโกหก แม้เมื่อเขาได้พูดความจริงก็ตาม



การที่เด็กได้อ่านหนังสือนิทานจะช่วยให้เด็กได้พัฒนาภาษา  ฝึกการอ่านให้แก่เด็ก  โดยในหนังสือนิทานบางเล่มจะมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่ในเล่มเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้พัฒนาภาษาอื่นไปด้วย  การเรียนรู้จากหนังสือนิทานนั้นเป็นการเรียนรู้ของเด็กที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายและเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเด็กทำให้หนังสือนิทานเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาภาษาของเด็กได้เป็นอย่างดี   ส่วนการดูนิทานจากวีดีโอนั้นก็เป็นส่วนช่วยให้เด็กได้เรียนรู้คำต่างๆที่ได้ยินจากการฟังในนิทาน  เด็กจะได้จดจำคำแล้วนำมาใช้ได้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่พัฒนาภาษาของเด็กได้





วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

อบรมการเล่านิทาน


อบรมการเล่านิทาน

โดย อาจารย์ชัยฤทธิ์ ศรีโรจน์ฤทธิ์


   สิ่งที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเสริมสร้างจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆได้ ซึ่งนิทานเป็นส่วนช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ช่วยให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านและการเล่านิทานยังมีส่วนช่วยให้เด็กกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดจินตนาการและจดจำสิ่งต่างๆได้ดีขึ้น


นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย


ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป

เด็กอายุ 0 - 1 ปี 
               นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และเขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้
                เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกด้วย
               เด็กอายุ 2 - 3 ป
              เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควรเป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ    เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต
                            เด็กอายุ 4 - 5 ปี
                เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ
                 หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก
หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย             • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
        • ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ            • เนื้อหาและลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า
              วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก     เมื่อเลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้
     1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
• เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก
• การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
• อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
• ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
• ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น
    2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้,ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง



ตัวอย่างการเล่านิทานด้วยเทคนิคต่างๆ


เล่าไปพับไป







เล่าไปวาดไป




วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2203)

วันที่ 7  กันยายน  2555

กลุ่มเรียน122    เวลา14.10-17.30น.

เนื้อหาที่เรียน


-อาจารย์แจกสีและแผ่นประดิษฐ์อักษร




-อาจารย์ทบทวนเนื้อหาที่เรียนไป 
- ทักษะทางภาษาโดยใช้การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์องค์ประกอบโดยการตีความทีละหัวข้อ และการสังเกตดูพฤติกรรมการใช้ภาษาของเด็ก 





- การจับใจความ การสรุปความคิด การตั้งคำถามกับเด็กโดยใช้นิทานและเพลงเข้าช่วย 

- การจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อในการสอนเด็ก เช่น นิทาน เพลง เกม ปริศนาคำทาย คำคล้องจอง 

- มุมประสบการณ์ทางภาษาที่จัดไว้สำหรับเด็ก โดยส่งเสริมการฟัง พูด อ่าน และเขียนของเด็ก เช่น นิทาน(การอ่าน) 

เทปเพลง(การฟัง) กระดานเขียน(การเขียน) หุ่นนิ้วมือ(การพูด)


การบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวันเรื่องของภาษา






 - ทักทาย เขียนชื่อ แนะนำกิจกรรม 


- กิจกรรมเคลื่อนไหว คือการเต้นประกอบเพลง พูดชื่อและทำท่าทางตามชื่อของตนเอง 

- กิจกรรมศิลปะ คือการวาดภาพเป็นสัญลักษณ์ เขียนบรรยายใต้ภาพ นำภาพมาต่อเป็นเรื่องราว 

- กิจกรรมกลางแจ้ง คือการรู้จักกฎกติกาในการเล่น 

- กิจกรรมเกมการศึกษา คือพวกเกม จิ๊กซอว์ โดมิโน จับคู่ เรียงลำดับเหตุการณ์ อนุกรม อุปมาอุปไมย 







บรรยากาศในการเรียน 



-เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์ทบทวนความรู้  แต่ในวันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนน้อย


การนำสิ่งที่ได้รับไปรับใช้


-ได้ความรู้เรื่องการจัดประสบการณ์ สามารถนำไปใช้ร่วมกับวิชาอื่นได้


งานที่ได้รับมอบหมาย

-ในอาทิตย์หน้าให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอนิทาน